สถานีราชปรารภ (อังกฤษ: Ratchaprarop Station) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link - SARL) ในระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย City Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line) ที่แวะจอดรายทางทุกสถานีจากสถานีพญาไทไปจนถึงสุวรรณภูมิ ยกระดับเหนือเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก ที่จุดตัดถนนราชปรารภ กรุงเทพมหานคร บริเวณสามแยกนิคมมักกะสัน
อยู่บนแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก บริเวณจุดตัดถนนราชปรารภ คร่อมเหนือสามแยกนิคมมักกะสัน (จุดบรรจบถนนราชปรารภและถนนนิคมมักกะสันเลียบทางรถไฟ) ห่างจากสี่แยกมักกะสัน (จุดบรรจบถนนราชปรารภ ถนนศรีอยุธยาและถนนจตุรทิศ) มาทางทิศใต้ประมาณ 100 เมตร และห่างจากสี่แยกประตูน้ำ (จุดบรรจบถนนราชปรารภ ถนนเพชรบุรีและถนนราชดำริ) มาทางทิศเหนือประมาณ 600 เมตร ในพื้นที่แขวงมักกะสัน และแขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร สถานีข้างเคียงตามแนวเส้นทางได้แก่สถานีพญาไท อยู่ห่างประมาณ 800 เมตร และสถานีมักกะสัน (อโศก) ห่างประมาณ 1,700 เมตร
สำหรับที่ตั้งของสถานีราชปรารภ เดิมเป็นป้ายหยุดรถราชปรารภในเส้นทางรถไฟสายตะวันออก แต่ได้หยุดให้บริการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550 เพื่อใช้พื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ระหว่างนี้ผู้โดยสารรถไฟชานเมืองยังสามารถใช้บริการได้ที่สถานีรถไฟมักกะสันซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 400 เมตรเท่านั้น
โดยในอนาคต สถานีราชปรารภแห่งนี้จะเชื่อมต่อกับ สถานีราชปรารภของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ซึ่งเป็นโครงการใต้ดินตามแนวถนนราชปรารภ
เกิดเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมได้ทำการยิงระเบิด M79 จำนวนสองนัดใส่ตัวสถานีราชปรารภ ทำให้เกิดการระเบิดขึ้น ตัวสถานีได้รับความเสียหายตรงบริเวณโดมหลังคาของสถานีเป็นรู จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดข่าวลือว่ามีผู้ชุมนุมได้ขึ้นไปยิงระเบิด M79 อีก 1 นัดใส่ตัวรางรถไฟฟ้า ซึ่งการรถไฟฯ ได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีความเสียหายต่อตัวรางรถไฟฟ้า มีเพียงหลังคาที่เสียหายเท่านั้น
เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ตัวสถานีมี 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นลอย, ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชานชาลาที่ชั้นบนสุด
อยู่ทั้งสองฝั่งของถนนราชปรารภ โดยจะมีทั้งฝั่งขาออกของถนน (ไปแยกสามเหลี่ยมดินแดง) และฝั่งขาเข้าของถนน (ไปแยกประตูน้ำ/ราชประสงค์/สยาม) ซึ่งเป็นฝั่งเดียวกันกับที่หยุดรถไฟราชปรารภ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/สถานีราชปรารภ_(รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)